แพลทินัม(Platinum)
เป็นโลหะมีสีเทาเงินวาว มีน้ำหนักมวลสารมากและสามารถทนต่อการทำปฏิกริยาสูง จัดว่าเป็นแร่หายากชนิดหนึ่ง และการสกัดหรือหลอมแพลทินั่มทำได้ยากกว่าทองคำ
ทองคำขาว(White Gold)
เกิดจากการผสมของ ทองคำ และแพลเลเดียมหรือนิเกิล ทองคำขาวมักจะถูกเคลือบ(ชุบ)ผิวด้วย โรเดียมหรือแพลทินัม เพื่อเพิ่มความวาว
หน่วยวัดทองคำ
1 ทรอยเอานซ์ เท่ากับ 31.1035 กรัม
1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1507 ทรอยเอานซ์
1 บาท (ทองคำแท่ง) เท่ากับ 15.244 กรัม
1 บาท (ทองรูปพรรณ) เท่ากับ 15.16 กรัม
1 บาท เท่ากับ 4 สลึง
คำนวนราคาทองหน้าร้านเยาวราช
– ราคาทองคำหนัก 1 บาท =London Gold AM x (15.244/31.1035) x (0.965/0.995) x (THB/USD) โดยที่
– London Gold AM เป็นราคาต่อ 1 troy ounce ของทองคำที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ซึ่งมีน้ำหนัก เท่ากับ 31.1035 กรัม
– ทองคำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม
– 0.965 คือ ตัวแปรที่ใช้ปรับค่าความบริสุทธิ์ของทองคำให้เป็น 96.5%
– อัตราแลกเปลี่ยน THB/USD นั้นจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์
ตัวอย่าง =1079.40 x 0.490105 x 0.96984 x 33.26
=17064.5 (เท่ากับ ราคาขายออกตามประกาศของสมาคมค้าทองคำ = 16,950-17,050)
หมายเหตุ ใช้ราคา Spot Gold ณ.วันที่ 01-02-2553
คำนวนราคาทองคำแท่ง จากราคาทองต่างประเทศ
สูตร = ( Spot Gold + Premium ) x 32.1507 x THB
Premium ก็คือ ค่าส่วนเพิ่ม หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าขนส่งและประกันภัยที่ผู้ขายบวกเข้าไปนอกจากราคา Spot
ปัจจุบันค่า Premium ใช้อยู่ที่ 0.5-5 US Dollar
ตัวอย่าง = (1086.10 + 0.5) x 32.1507 x 33.26
=1,161,936 บาท/ Kg.
คาถาแก้จน 4 ข้อ จากคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านสอนว่า
1.ขยันหมั่นเพียรอย่างไม่ย่อท้อ ในการขวนขวายหาเงินสะสมเพื่อตนเองและครอบครัว
2.รู้จักบริหารรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.คบมิตรสหายที่ดี ที่ไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข
4.ใช้ชีวิตบนทางสายกลาง
เก็บออมตั้งแต่วันนี้
เราทุกคนย่อมต้องการความมั่นคงทางการเงินในทุกช่วงชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงที่พ้นวัยทำงานไปแล้ว เพราะนั่นหมายถึงความมั่นคงในบั้นปลายของชีวิต แต่จนแล้วจนรอดด้วยธรรมชาติของเราที่มักใช้จ่ายเงินแบบตามใจตัวเองเกินไป การเก็บออมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ได้ให้ไอเดียหลักๆ ในการเริ่มต้นหัดเก็บออมเงินในหนังสือเรื่อง “ รู้จักใช้ เข้าใจเงิน” ไว้ดังนี้
กินอยู่ให้ต่ำกว่าฐานะ
การจะมีเงินออมได้นั้น เราต้องรู้จักการอยู่กินต่ำกว่าฐานะ พูดง่ายๆก็คือ ใช้จ่ายเงินให้น้อยกว่ารายได้ที่รับมา แม้จะต้องจำกัดจำเขี่ยการใช้เงินในปัจจุบัน และอาจทำให้เกิดความอึดอัดคับข้องใจทุกครั้งเมื่อต้องใช้เงินแต่ละครั้ง แต่ในอนาคต มันสามารถเป็นหลักประกันได้ว่า คุณจะมีความมั่นคงทางการเงินอย่างแน่นอน ต่างกับ พวกที่ชอบอยู่กินเกินฐานะ จึงต้องยืมเงินจากผู้อื่น หรือใช้เงินล่วงหน้าจากการรูดบัตรเครดิต
จับตาการใช้จ่ายเกินตัว
สัญญาณอันตรายที่แสดงให้รู้ว่าคุณกำลังใช้จ่ายเกินตัว คือ เงินที่หามาได้ถูกใช้ไปกับการชำระหนี้เพิ่มมากขึ้น ต้องแบ่งเงินเดือนไปตามจ่ายใบเรียกเก็บเงิน บ่อยครั้งที่ใช้บัตรเครดิตในการชำระเงินแทนเงินสด และชำระสินค้าบริการเกินเวลาที่กำหนดอยู่เป็นประจำ วิธีแก้มี ๒ ทาง คือ พยายามทุกวิถีทางเพื่อหารายได้ให้พอกับรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ยาก ส่วนอีกวิธีหนึ่งที่น่าจะทำได้ง่ายกว่า มีเหตุมีผลมากกว่าคือ ลดรายจ่ายเพื่อให้พอดีกับรายได้
ปรับทัศนคติ เปลี่ยนการกระทำ
เราต้องรู้เท่าทันความจริงข้อหนึ่งว่า ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันเพียงพอ หรือมนุษย์มีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหมือนดังแนวความคิดเรื่องลำดับขั้นความพึงพอใจ ของ Abraham Maslow เมื่อต้องการบริโภคมาก ย่อมใช้จ่ายเงินมากตามไปด้วยเช่นกัน
หยุดใช้ชีวิตเลียนแบบผู้อื่น
จงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีและเป็น หลายคนมักเอามาตรฐานการใช้ชีวิตของผู้คนที่ได้เห็นตามสื่อต่างๆ มาเป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตโดยขาดการไตร่ตรองถึงความเหมาะสม เพื่อให้เป็นไปในแบบบุคคลที่เห็นผ่านสื่อ ยิ่งในโลกแห่งทุนนิยมด้วยแล้ว อำนาจแห่งการโฆษณาชวนเชื่อดูจะใกล้ชิดกับการตัดสินใจใช้จ่ายเงินไปกับสิ่งฟุ่มเฟือยที่นักโฆษณาพยายามบอกว่า มันคือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตซึ่งผู้บริโภคเองก็หลงเชื่อ ซื้อหาสินค้านั้น
เริ่มออมเงินวันนี้
จะเริ่มประหยัดเมื่อไหร่ดี? คำตอบง่ายๆ คือ วันนี้เลยครับ! โดยจัดสรรเงินไม่น้อยกว่า ๑๕ เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ก่อนหักภาษี เก็บไว้เป็นเงินออม นอกจากนั้นค่อยใช้ไปกับการบริโภคประจำวัน การนำไปลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ใช่การเก็บออม แต่การลงทุนระยะยาวในนหุ้นที่ดีถือเป็นการออม ใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักความพอดี ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล และควบคุมความต้องการของตนด้วยสติสัมปชัญญะ
เทคนิคให้กำลังใจ เมื่อท้อแท้ผิดหวัง
ขอบคุณวารสารผาสุก